จอ LED เกิดภาพได้อย่างไร?

-จอ LED สามารถต่อกันเป็นรูปร่างต่างๆได้หลายแบบ เนื่องจากตัวจอนั้นจะประกอบไปด้วยบล็อกของจอเป็นบล็อกๆตามแบบของจอแต่ละยี่ห้อตามท้องตลาด โดยส่วนมากจอจะมีขนาดอยู่ที่ 50 cm x 50 cm โดยตัวบล็อกจะมาต่อกันเป็นก้อนๆเพื่อรวมกันเป็นจอ 1 ผืนตามขนาดที่ต้องการ
-ในการแสดงภาพผ่านจอ LED จำเป็นที่จะต้องมีตัวประมาณผล (Processor) ที่ไว้แปลงค่าภาพต่างๆเพื่อส่งไปออกที่จอ LED โดย Processor จะมีรูปร่างขนาดและความสามาถที่ต่างกันไปตามแต่ละยี่ห้อและรุ่น และสิ่งที่จะต้องมาควบคู่กับ Processor นั่นก็คือ Sending card ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งค่าสัญญาณไปยังจอ LED เพื่อแสดงผลเป็นภาพออกมา


-การทำงานของระบบเพื่อให้จอแสดงภาพเป็นอย่างไร? การจะให้จอแสดงภาพออกมาได้นั้นต้องมีระบบที่จะประมวณผลส่งเป็นชุดคำสั่งไปยังตัวจอ LED เพื่อให้แสดงสีที่ต้องการออกมาแล้วรวมกันเป็นภาพ โดยจะเริ่มที่ Source in put เช่น Switcher,คอมพิวเตอร์,ระบบ OB (Outside broadcast),อุปกรณ์ส่งภาพชนิดต่างๆ ส่งสัญญาณภาพต่างๆไปที่ตัว Processor เพื่อประมวณผลออกมาเป็นโค้ดและส่งต่อไปยัง Sending card เพื่อส่งสัญญาณไปยังจอ LED ให้แสดงภาพออกมาโดยการผสมสีของเม็ดจอ
-ความคมชัดของจอ LED ขึ้นอยู่กับความถี่ของเม็ดจอในแต่ละแบบ ซึ่งจอที่มีความห่างของเม็ดจอที่น้อย จะมีความถี่ของเม็ดจอที่มากตามไปด้วยใน 1 ตารางเมตรยกตัวอย่างเช่น จอ P4 ใน 1 ตารางเมตรจะมีเม็ดจออยู่ที่ 208 เม็ดต่อ 1 แถวทั้งความสูงและความยาว จอ P3.4 จะมีความถี่ของเม็ดจอคือ 288 เม็ดต่อ 1 แถว จะเห็นได้ว่าหากจอมีเม็ดยิ่งมากก็จะยิ่งคมชัดขึ้น